ความหมายของ "คำผวน"
คำผวน คือ คำพูดที่เกิดจากการเล่นภาษาอย่างหนึ่งของคนไทย ใช้วิธีกลับเสียงของคำโดยการสลับเสียงระหว่างคำหรือพยางค์ เมื่ออ่านย้อนกลับสระกันแล้วจะได้คำที่มีความหมายใหม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะได้คำที่มีความหมายไปในทางที่ไม่ค่อยสุภาพ และคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคนไทยถือว่าไม่สุภาพ เป็นเรื่องหยาบโลน
ลักษณะของคำผวน
คำผวนต้องมีจำนวนพยางค์ที่ใช้ในการผวนตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จนถึงเป็นประโยคยาวๆ เช่น
ชอกี ผวนเป็น ชีกอ
ค่าบน ผวนเป็น คนบ้า
แอร์กี่ ผวนเป็น อีแก่
แขกดอย ผวนเป็น คอยแดก
แขกตามดอย ผวนเป็น คอยตามแดก
แดงจูงหมีไปฆ่า ผวนเป็น แดงจูงหมาไปขี้
ค่าบน ผวนเป็น คนบ้า
แอร์กี่ ผวนเป็น อีแก่
แขกดอย ผวนเป็น คอยแดก
แขกตามดอย ผวนเป็น คอยตามแดก
แดงจูงหมีไปฆ่า ผวนเป็น แดงจูงหมาไปขี้
วัตถุประสงค์และโอกาสในการเล่นคำผวน
การเล่นคำผวนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากกว่าทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับอารมณ์เพศ ดังนั้นบางครั้งก็ถูกใช้เพื่อลดนัยทางเพศลง ดังเช่น ในการเล่นเพลงปฏิพากย์หรือลิเก เมื่อต้องการจะกล่าวพาดพิงถึงเรื่องเพศก็มักจะเลี่ยงใช้คำผวนแทน ซึ่งก็เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากวัฒนธรรมไทยถือกันว่าเรื่องเพศเป็นของสกปรก ไม่สมควรพูดในที่สาธารณะ เมื่อพูดตรงๆ ไม่ได้ ก็ต้องหาทางเลี่ยงแทน คำผวนจึงเป็นทางออกที่ดี บางครั้งคำผวนก็ถูกใช้เพื่อผ่อนคลายความตรึงเครียดหรือเปลี่ยนบรรยากาศที่น่าเบื่อในกิจกรรมที่ทำอยู่ เช่น ชาวบ้านที่ร่วมแรงกันลงแขกทำงานมักจะร้องเพลงต่างๆ โดยมีคำผวนในเนื้อเพลง บางโอกาสก็มีจะประสงค์เพื่อแสดงศิลปะของการประพันธ์ในรูปร้อยกรองหรือปริศนาคำทายที่มีความคล้องจองกัน ทั้งนี้เพราะคนไทยมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนสืบมาแต่โบราณ ฉะนั้นแทนที่จะผูกคำประพันธ์หรือปริศนาคล้องจองโต้ตอบกันอย่างธรรมดา ก็ใช้คำผวนแทรกเข้าไปแทนคำพูดที่มีความหมายตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
ประวัติความเป็นมาของคำผวน
ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าคำผวนกำเนิดมาแต่เมื่อใด แต่อาจสันนิษฐานถึงที่มาได้เป็น 2 ประการ คือ ประการแรกอาจเป็นเพราะความสนุกปาก ประการที่สอง เนื่องจากสังคมไทยปิดกั้นความรู้เรื่องเพศ จึงโต้ตอบและแสดงออกในทางตรงข้าม คือการฝ่าฝืนข้อห้าม ซึ่งตรงกับหลักการทางจิตวิทยาซึ่งถือว่า “การปกปิดเป็นการเร้าความสนใจ”
ประวัติความเป็นมาของคำผวนเท่าที่มีหลักฐานปรากฏพบว่ามีการเล่นคำผวนมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีเรื่องเล่าว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศรีปราชญ์ กวีเอกในสมัยนั้นได้เคยแต่งโคลงกระทู้คำผวนเอาไว้ 1 บท มีความว่า
“เป ทะลูอยู่ถ้ำ มีถม (ปูทะเล)
แป สะหมูอยู่ตาม ไต่ไม้ (ปูแสม)
มา แดงแกว่งหางงาม หาคู่ (แมงดา)
นา ปล้ำน้ำจิ้มให้ รสลิ้มชิมบอล” (น้ำปลา)
แป สะหมูอยู่ตาม ไต่ไม้ (ปูแสม)
มา แดงแกว่งหางงาม หาคู่ (แมงดา)
นา ปล้ำน้ำจิ้มให้ รสลิ้มชิมบอล” (น้ำปลา)
ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานว่า สุนทรภู่ ปรมาจารย์ด้านกลอนของไทยได้แต่งโคลงคำผวนโต้ตอบผู้ที่สบประมาทกล่าวหาว่าท่านแต่งได้แต่กลอนเท่านั้น โคลงแต่งไม่ได้ สุนทรภู่จึงแต่งโคลงเป็นคำผวนด่าผู้สบประมาท ดังนี้
”เฉน็งไอมาเวิ่งเว้า วู่กา (เฉน็งไอ-ไฉนเอ็ง, วู่กา-ว่ากู)
รูกับกาวเมิงแต่ยา มู่ไร้ (ราวกับกูมาเแต่เยิง ไม่รู้)
ปิดเซ็นจะมู่ซา เคราทู่ (เป็นศิษย์จะมาสู้ ครูเฒ่า)
เฉะแต่จะตอบให้ ชีพม้วยมังรณอ” (ชอบแต่จะเตะให้, มรณัง)
รูกับกาวเมิงแต่ยา มู่ไร้ (ราวกับกูมาเแต่เยิง ไม่รู้)
ปิดเซ็นจะมู่ซา เคราทู่ (เป็นศิษย์จะมาสู้ ครูเฒ่า)
เฉะแต่จะตอบให้ ชีพม้วยมังรณอ” (ชอบแต่จะเตะให้, มรณัง)
คำผวนสะท้อนวัฒนธรรมไทย
การเล่นคำผวนถือเป็นศิลปะการเล่นคำทางภาษาอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ ดังนี้
วัฒนธรรมการใช้ภาษา เนื่องจากคำผวนเป็นศิลปะการเล่นคำโดยการพลิกแพลงได้อย่างหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นว่าภาษาไทยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง
วัฒนธรรมด้านความเป็นอยู่ ปรากฏในรูปของปริศนาคำทายที่สะท้อนถึงการดำรงชีพ อาหารการกิน และเครื่องใช้ไม้สอย
วัฒนธรรมด้านความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อและทัศนคติของคนไทยที่สะท้อนออกมาในรูปของปริศนาคำทาย และลักษณะนิสัยของคนไทย ได้แก่ ความสนใจในเรื่องเพศแต่ไม่เอ่ยถึงตรงๆ มักใช้วิธีพูดเลี่ยงๆ ให้เป็นเรื่องสนุก ซึ่งนับเป็นความเฉลียวฉลาดและมีสติปัญญา ช่างคิดช่างสังเกต ช่างเปรียบเทียบ
ที่มาข้อมูล : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น